เรียนรู้กลยุทธ์การช่วยเหลือผู้อื่น

กลยุทธ์การช่วยเหลือ (Rescue) จะเกิดขึ้นโดยทันทีหลังการเกิดภัยพิบัติและทอดระยะเวลาไปได้หลายวัน ขึ้นอยู่กับขนาดของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น จุดมุ่งเน้นอยู่ที่การช่วยเหลือคนเจ็บ ผู้ที่ติดค้าง หรือที่ถูกลอยแพ รวมทั้งการระบุตำแหน่งของผู้เสียชีวิต การปรับสภาพของจุดประสบเหตุให้มีความปลอดภัยต่อการเข้าช่วยเหลือ การเข้าสำรวจจุดหรือตำแหน่งของพนักงานที่ต้องการความช่วยเหลือ การเตรียมปัจจัยพื้นฐานที่ต้องการเร่งด่วน อาทิ น้ำดื่ม อาหาร เวชภัณฑ์ ที่พักพิง ฯลฯ รวมถึงการติดต่อกับครอบครัว การแจ้งข่าวแก่ญาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินผ่านกระบวนงานองค์กร

ความปลอดภัยของบุคลากร
การทราบตำแหน่งที่อยู่ของบุคลากรเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะกับบุคลากรที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย หรืออยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ประสบภัย ที่องค์กรต้องตัดสินใจดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดในการเคลื่อนย้ายหรืออพยพ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคลากรจะเป็นประโยชน์ต่อการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสม

การมีส่วนร่วมของพนักงาน

พนักงานจะเป็นบุคลากรที่สามารถเข้าร่วมในปฏิบัติการช่วยเหลือ โดยการสนับสนุนขององค์กร ตั้งแต่การให้เงินช่วยเหลือสมทบ การเชื่อมโยงทางเว็บไซต์ไปยังหน่วยกู้ภัยเพื่อร่วมบริจาค การให้วันหยุดพนักงานเพื่อจัดกิจกรรมระดมทุน หรือการเปิดระบบบริจาคโดยการหักบัญชีเงินเดือนพนักงาน

ลูกค้าและผู้ส่งมอบ
เปิดโอกาสให้ลูกค้าและผู้ส่งมอบ สนับสนุนด้วยการระดมเงินช่วยเหลือ ผ่านทางการใช้แต้มสะสม หรือการบริจาคในอัตราร้อยละของค่าสินค้าที่จำหน่าย หรือกิจกรรมระดมทุนร่วมระหว่างองค์กร

การประเมินผลกระทบภายในองค์กร
การสื่อสารในองค์กรกับบุคลากร และกับหน่วยประกอบการที่ได้รับผลกระทบ จะช่วยให้องค์กรสามารถประเมินผลกระทบความเสียหาย และความจำเป็นในการช่วยเหลือให้แก่ทีมช่วยเหลือ ข้อมูลที่สำคัญอย่างเช่น พื้นที่ และจำนวนบุคลากรที่ได้รับผลกระทบ จะเป็นประโยชน์ต่อทีมเผชิญเหตุภัยพิบัติในพื้นที่ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการดำเนินความช่วยเหลือร่วมกับบริษัทอื่น สามารถล่วงรู้ข้อมูลที่จำเป็นในภาคสนาม เช่น ระดับการเข้าถึงของหน่วยกู้ภัยและหน่วยปฏิบัติการอื่นๆ ในพื้นที่

การศึกษาด้านการกู้ภัยต่างๆและการช่วยเหลือผู้อื่น

การศึกษาด้านการกู้ภัยต่างๆและการช่วยเหลือผู้อื่น

โลกคือหมู่บ้านใหญ่ที่เราอยู่ร่วมกัน ไม่มีชาติใดจะอยู่อย่างไม่พึ่งชาติอื่นได้ ไม่มีใครไม่ต้องการความช่วยเหลือ  การทำงานอาสาคือการที่คนเราทำงานให้ผู้อื่นโดยมิได้ถูกกระตุ้นว่าจะได้รับ สิ่งตอบแทนเป็นตัวเงินหรือสิ่งใดๆ การทำงานอาสาเป็นกิจกรรมที่เอาประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง ตั้งใจที่จะส่งเสริมสิ่งที่ดีๆ หรือปรับปรุงคุณภาพชีวิต บางคนอาจเป็นอาสาสมัครเพื่อให้ได้ทักษะโดยไม่ต้องมีการลงทุนของนายจ้างเพิ่มเติม การทำงานอาสาหรือการเป็นอาสาสมัครมีหลายรูป แบบและใครๆก็ทำได้ อาสาสมัครจำนวนมากได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษในงานที่ตนทำ เช่น ในด้านการแพทย์ การศึกษา หรือการกู้ภัยในยามฉุกเฉิน บางคนทำงานในที่ต่างๆหลายแห่ง เช่น คนที่ทำงานอาสาในยามที่เกิดภัยธรรมชาติ  ในลักษณะนี้การทำงานอาสามีบทบาทสำคัญในการสร้างผลทางเศรษฐกิจ  ในพื้นที่ที่ความยากจนแพร่หลาย  ชุมชนคนยากจนมักจะขาดเพื่อนและเพื่อนบ้านสามารถช่วยเหลือได้  การช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยการสมัครใจอาสานี้ประกอบเป็นเครือข่ายนิรภัย ทางสังคม แบบอย่างนี้ใช้ได้ดีในรัฐที่มีความสมานฉันท์ของชาติในยามยากลำบาก โดยกลุ่มที่มีฐานะดีกว่ามักจะเสียสละเพื่อประโยชน์ของคนที่ต้องการความช่วย เหลือ

การทำงานอาสาด้านสิ่งแวดล้อมหมายถึงอาสาสมัครที่ช่วยเหลือทางด้านการจัดการ สภาพแวดล้อม  อาสาสมัครทำกิจกรรมได้กว้างขวางหลากหลาย รวมทั้งการติดตามสภาพแวดล้อม การฟื้นฟูระบบนิเวศ เช่น การปลูกพืชขึ้นมาใหม่ การกำจัดวัชพืช และการให้การศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ระบบโรงเรียนทั่วโลกพึ่งพาอาสาสมัครและการบริจาคเป็นอย่างมากเพื่อให้สามารถ ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล เมื่อใดที่เศรษฐกิจตกต่ำ ความต้องการอาสาสมัครและทรัพยากรก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างยิ่ง มีโอกาสมากมายในระบบโรงเรียนที่อาสาสมัครจะใช้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งถ้าคุณมีทักษะหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะ ไม่มีข้อเรียกร้องมากนักในการที่จะเป็นอาสาสมัครในระบบโรงเรียน ไม่ว่าคุณจะเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ปู่ย่าตายาย หรือแค่เพียงสมาชิกคนหนึ่งของชุมชน โรงเรียนส่วนมากเพียงขอให้กรอกข้อความในแบบฟอร์มอาสาสมัครให้ครบถ้วน ส่วนผลประโยชน์ที่ได้รับก็เหมือนกับการทำงานอาสาแบบอื่นๆ นั่นคือรางวัลอันยิ่งใหญ่สำหรับอาสาสมัคร เด็กนักเรียน และโรงเรียนดังนั้นประเทศส่วนใหญ่จึงพัฒนานโยบายและออกกฎหมายเพื่อทำความชัดเจนถึงบทบาท และความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียและจัดสรรการสนับสนุนทางกฎหมาย ทางสังคม ทางการบริหาร และทางการเงินให้ตามที่จำเป็น เรื่องนี้มีความจำเป็นเป็นพิเศษเมื่อการมองว่ากิจกรรมอาสาบางกิจกรรมเป็นการ ท้าทายอำนาจรัฐ เช่น เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2001 ประธานาธิบดีบุชแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเตือนว่ากลุ่มอาสาสมัครควรเสริม มิใช่แทนที่ งานที่หน่วยงานรัฐทำ งานอาสาสมัครที่ยังประโยชน์แก่รัฐแต่ท้าทายคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับค่าตอบ แทนสร้างความขุ่นเคืองใจให้สหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนคนที่ได้รับค่าตอบแทน เช่น ในกรณีอาสาสมัครดับเพลิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการรวมคนทั้งสองกลุ่มไว้ในหน่วยเดียวกัน