หน่วยกู้ภัยส่วนใหญ่เกิดมาจากคนในชุมชนมารวมตัวกันก่อตั้งขึ้นค่ะ บางกลุ่มก็มาจากสมาชิกเล่นวิทยุความถี่ บางกลุ่มก็มาจาก อปพร. ค่ะ ซึ่งมีใจรักและเสียสละเพื่อส่วนรวม จึงมีความผูกพันกับชุมชนและรักที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ใกล้ชิดกับชุมชนของตัวเองได้ง่าย และได้รับความไว้วางใจและเชื่อถือจากชุมชน มีการจัดตั้งกระจายออกไปทั่วประเทศ เห็นได้จากมีหลากหลายหน่วยมาก ซึ่งระบบราชการก็ไม่มีงบประมาณพอเพียงที่จะทำได้ค่ะ แต่ก็มีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยราชการกับศูนย์กู้ภัย จะเห็นได้ว่าบางสน.ก็ได้ร่วมมือกันกับศูนย์กู้ชีพจัดตั้งหน่วยกู้ชีพพลเรือนขึ้น เช่นศูนย์ร่มฟ้าเป็นต้นค่ะการเข้ามาเป็นกู้ภัยนั้นส่วนใหญ่จะมาจากการเป็น อปพร.ซึ่งย่อมาจาก อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่านพลเรือน ซึ่งทางอำเภอตำบล จังหวัด จะเป็นผู้เปิดให้เข้ารับการฝึก ประมาณ 5 วันตามหลักสูตร ซึ่งเมื่ออบรมเสร็จก็เปรียบเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐค่ะ แต่ไม่มีเงินเดือนซึ่ง อปพร.จะมี พรบ.คุ้มครองค่ะ แต่ก็มีหน่วยงานที่รับเข้ามาแล้วทำการฝึกเองนั้นคนละเรื่องกันค่ะ
การที่จะเป็นกู้ภัยที่ดีต้องปฎิบัติดังนี้ ห้ามดื่มของมืนเมาในขณะปฏิบัติหน้าที่ ห้ามหยิบฉวยของมีค่าของผู้ประสบภัยไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้นถ้าต้องการเก็บรักษาให้ทำการเก็บใส่ถุงใส่แล้วนำฝากพยาบาลเวรที่รับผู้ป่วยแล้วจดชื่อพยาบาลผู้เก็บรักษาแล้วแจ้งศูนย์ห้ามกระทำการใดๆอันส่อพฤติกรรมล้วงเกินทางเพศ ทั้งตลอดผู้ป่วยมีสติและไม่มีสติยกเว้นการทำCPRกับผู้ป่วยที่ต้องการนวดหัวใจผายปอด ไม่ใช้อารมณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ปฏิบัติผู้ประสบภัยดุจญาติของตัวเอง พึงเห็นกู้ภัยหน่วยอื่นเป็นผู้ร่วมงาน อย่างเป็นมิตรไม่หวังสิ่งตอบแทนจากญาติผู้ป่วยทุกกรณี ใช้วาจาอย่างสุภาพในการปฏิบัติหน้าที่รักษาจรรยาบรรณของการเป็นกู้ภัยและกฏระเบียบอย่างเคร่งครัด สำหรับที่กล่าวมาเป็นข้อปฏิบัติหลักๆแต่จริงๆต้องใช้จิตวิญญาณของตัวเองในการตัดสินใจและรักษากฏด้วยใจจริงค่ะ รถมูลนิธิเป็นรถฉุกเฉินที่ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่? แล้วรถฉุกเฉินมีระเบียบปฏิบัติอย่างไรเมื่อมีพรบ.คุ้มครอง รถของหน่วยงานที่ถูกต้องย่อมถูกกฏหมายแน่นอนค่ะ เพราะต้องมีการขอได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้สัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่จะกำหนดค่ะ