การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุในสถานการณ์ต่างๆ

สำหรับการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุในสถานการณ์ต่างๆ ที่จะนำเสนอในบทเรียนนี้ ได้แก่ การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุในกรณีการจมน้ำ การสำลักควันไฟการถูกไฟฟ้าดูด ภาวะจากอาการหัวใจวาย และภาวะจากทางเดินหายใจอุดตัน ซึ่งสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพได้ดังวิธีการต่อไปนี้

1. การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ประสบอุบัติเหตุจากการจมน้ำ
สาเหตุ การจมน้ำเป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมากถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อาจเกิดจากการพลัดตกน้ำ การว่างน้ำไม่เป็นซึ่งพบบ่อยในเด็กเล็ก คนที่จมน้ำมักจะเสียชีวิตจากการสำลักน้ำและขาดอาการหายใจ หรือเจ็บป่วยจากภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ปอดบวมน้ำ
อาการ ผู้ประสบอุบัติเหตุจากการจมน้ำเป็นเวลานานจะซีดหรือหมดสติ เนื่องจากขาดอากาศหายใจ และอาจคลำชีพจรไม่ได้เพราะหัวใจหยุดเต้นร่วมด้วย
การช่วยฟื้นคืนชีพ
1) ประเมินสถานการณ์โดยเลือกวิธีช่วยเหลือที่ปลอดภัยที่สุด ทั้งต่อตัวผู้ช่วยเหลือเองและผู้ประสบอุบัติเหตุ และถ้าไม่จำเป็นอย่างลงไปช่วยในน้ำ เพราะผู้ประสบอุบัติเหตุที่อยู่ในภาวะตกใจและต้องการมีชีวิตรอดจะจับหรือกอดรัดผู้ช่วยเหลือจนไม่สามารถว่ายน้ำได้ ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้จมน้ำทั้งคู่ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ช่วยเหลือพึงระวัง ทางที่ดีควรหาวัสดุให้ผู้ประสบอุบัติเหตุยึดเกาะเช่น ห่วงยาง เชือก หรือไม้ จะปลอดภัยมากกว่า ซึ่งสามารถกระทำได้ในกรณีเกิดเหตุการณ์จมน้ำใกล้ฝั่ง
2) ถ้าไม่มีทางเลือกเนื่องจากผู้ประสบอุบัติเหตุจมน้ำอยู่ไกลฝั่งมาก และต้องว่ายน้ำเข้าไปช่วยเหลือต้องปฏิบัติอย่างมีสติรอบคอบ ซึ่งควรสำรวจตัวเองว่ามีความพร้อมเช่น ว่ายน้ำเป็น ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง และต้องช่วยเหลืออย่างถูกต้อง โดยให้ว่ายน้ำเข้าไปทางด้านหลังผู้ประสบอุบัติเหตุ ใช้มือข้างหนึ่งของผู้ช่วยเหลือจัดล็อกบริเวณไหล่และหน้าอกของผู้ประสบอุบัติเหตุไว้ จากนั้นใช้มืออีกข้างหนึ่งช่วยว่ายน้ำค่อยๆ พยุงเข้าหาฝั่ง ซึ่งมีส่งที่พึงกระทำเพิ่มเติมคือ ระวังไม่ให้จมูกและปากของผู้ประสบอุบัติเหตุอยู่ใต้น้ำเพื่อช่วยป้องกันการสำลักน้ำเข้าไปอีก
3) หลังจากนำผู้ประสบอุบัติเหตุขึ้นมาจากน้ำได้แล้วให้รีบตรวจสอบการหายใจและคลำชีพจรทันที ถ้าไม่หายใจให้ช่วยหายใจด้วยวิธีการเป่าปาก หรือถ้าหัวใจหยุดเต้นให้ปฏิบัติการนวดหัวใจตามวิธีที่ได้ศึกษามาแล้ว
4) ถ้าต้องการเอาน้ำออกจากปอดและกระเพาะอาหารของผู้ประสบอุบัติเหตุให้จัดท่าผู้ประสบอุบัติเหตุนอนคว่ำ ศีรษะตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อให้หายใจได้สะดวก จากนั้นใช้มือทั้ง 2 ข้างของผู้ช่วยเหลือสอดเข้าใต้ชายโครงของผู้ประสบอุบัติเหตุ ออกแรงยกขึ้นลงประมาณจะช่วยให้น้ำที่คั่งอยู่ในปอดและกระเพาะอาหารไหลออกมาทางปากได้บ้าง
5) ใช้ผ้าหรือเสื้อหนาๆ คลุมร่างกายผู้ประสบอุบัติเหตุ เพื่อช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย แล้วรีบนำส่งสถานพยาบาลทันทีในทุกกรณี

2. การช่วยฟื้นฟูผู้ประสบอุบัติเหตุจากการสำลักควันไฟ
สาเหตุ การสำลักควันไฟสามารถเกิดขึ้นได้จากกรณีเพลิงไหม้ และติดอยู่ในสถานที่เกิดเพลิงไหม้นั้น ซึ่งสูดควันเข้าทั้งทางจมูกและปากจึงทำให้ได้รับควันจำนวนมากเข้าสู่ปอด
อาการ อาการสำคัญเมื่อสูดควันเข้าสู่ปอดเป็นจำนวนมาก คือสำลัก ไอ และหายใจไม่ออก ทำให้ร่ายกาขาดก๊าซออกซิเจนส่งผลให้เป็นลมหมดสติ หรือเสียชีวิตได้ ซึ่งพบว่า คนที่ติดอยู่ในบ้านหรือสถานที่เกิดเพลิงไหม้จะเสียชีวิตก่อนถูกไฟคลอก เนื่องจากขาดก๊อซออกซิเจนเพราะสูดควันเข้าไปมากกว่าปกติ ยิ่งถ้าเกิดเหตุเพลิงไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตวัสดุจำพวกสารพิษ สารเคมี และพลาสติก เมื่อสารเหล่านี้ถูกเผาไหม้จะเกิดไอระเหยของสารพิษปนมากับควันไฟ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ ซึ่งรวมตัวกับเฮโมโกลบินได้ดีกว่าก๊าซออกซิเจนจึงทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างรวดเร็ว ถ้าสูดดมเข้าไปก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินทางเดินหายใจได้รุนแรง
การช่วยฟื้นคืนชีพ
1) รีบให้การช่วยเหลือโดยพาผู้ประสบอุบัติเหตุออกจากกลุ่มควันนั้นโดยเร็ว ซึ่งต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่อตนเองด้วย จึงควรหาวัสดุห้องกันอันตรายก่อน เช่น เสื้อกันไฟ ถุงมือกันไฟ ผ้าหรือหน้ากากป้องกันควัน เป็นต้น
2) หลังจากช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุออกมาจากควันไฟได้แล้ว ให้ตรวจสอบการหายใจ ถ้าไม่หายใจให้ปฏิบัติการช่วยหายใจเพื่อเพิ่มก๊าซออกซิเจนในปอด และคลำชีพจรบริเวณคอ ถ้าคลำชีพจรไม่พบ แสดงว่าหัวใจหยุดเต้นให้ปฏิบัติการนวดหัวใจทันที
3) ให้การรักษาอาการบาดเจ็บอื่นๆ ที่สามารถทำได้โดยปลอดภัย เช่นมีบาดแผลเลือดออกควรห้ามเลือด หรือกรณีอื่นๆ ตามความเหมาะสม
4) รีบนำผู้ประสบอุบัติเหตุส่งสถานพยาบาล เพื่อให้แพทย์ดูแลรักษาโดยเร็ว